วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

Dragon Pattern โอกาสทำกำไรในหุ้นด้วยรูปแบบมังกร

หากใครที่เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการวิเคราะห์ด้วยกราฟเทคนิคคอล (Technical Analysis) คงได้เคยอ่านหนังสือและได้รู้จักรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคามาแล้วมากมาย หนึ่งในรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่น่าสนใจและอยากจะยกมาพูดถึงในวันนี้คือ Dragon Pattern หรือ รูปแบบมังกร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องคลื่น Elliot Wave

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินและรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่หากใครยังมองภาพไม่ค่อยออกหรือนำไปใช้แล้วยังไม่ค่อยจะถูกลองดูตัวอย่างจากเนื้อหานี้ได้ครับ ซึ่งจะเป็นการเคลื่อนไหวของหุ้นที่เราเห็นๆ ในตลาด จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง

มาเริ่มกันเลยดีกว่า อย่างแรกคงต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าหน้าตามังกรเป็นอย่างไร ง่ายๆ เลยคือมองแบบภาพรวมคร่าวๆ เราจะเห็นการฟอร์มตัวของราคาคล้ายๆ กับตัวมังกรซึ่งประกอบด้วยส่วน หัว-คอ-ขาหน้า-หลัง-ขาหลัง-หาง

ขอบคุณภาพจาก Advance-Elliott Wave.com

เรามักจบพบเจอ Dragon Pattern หลังจากที่หุ้นเป็นขาลงมาได้สักระยะและเริ่มเข้าสู่การพักด้วย หรือการพักตัวในระยะขาขึ้น เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดได้ในหลายๆ Time Frame 

หากดูกันดีๆ แล้วละก็จะเห็นว่า "ขาหน้า" และ "ขาหลัง" ของมังกรก็คือการทำรูปแบบกลับตัว (Reversal Pattern) ที่เรียกว่า Double bottom นั่นเอง 

หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าถ้าเป็น Dragon Pattern แล้วมันจะขึ้นไปได้ถึงไหน หรือว่าราคาเป้าหมายคือเท่าไหร่ ขอตอบแบบง่ายๆ (แต่ไม่ได้กวนอารมณ์ใคร) มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาเคยสอนว่า "หุ้นลงมาจากเท่าไหร่ เมื่อกลับตัวก็จะขึ้นไปถึงที่นั่น, หุ้นขึ้นมาจากเท่าไหร่ เมื่อกลับตัวก็จะลงไปถึงที่นั่น เช่นกัน" - แปลว่าในกรณนี้เราสามารถนำส่วน "หัวมังกร" มาเป็นราคาเป้าหมายได้ แต่ไม่มีสิ่งใดการันตีว่ามันจะเป็นเช่นนั้นเสมอนะ!

ฉะนั้นเรามาดูตัวอย่างการใช้งานจริงกันดีกว่า

THANI - เกิด Dragon Pattern ใน time frame 30 นาที



LPH - เกิด Dragon Pattern ใน time frame 120 นาที (แต่สามารถเล่นใน time frame 30 นาที เช่นกัน)



BA - เกิด Dragon Pattern ใน time frame WEEK



SET - ขนาดตลาดยังมี Dragon Pattern ให้เห็นเช่นกัน เป็น time frame MONTH



ข้อควรระวัง!! - จังหวะของการเข้าซื้อ หรือ entry point นั้นควรรอให้แน่ใจว่าราคาสามารถทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม (trendline) ได้จริงๆ หากซื้อดักก่อนที่ราคาจะทะลุผ่านก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นตามมา / จังหวะการขายออก หรือ exit point เมื่อราคาวิ่งไปถึงราคาเป้าหมายแล้วควรขายออกหรือแบ่งขายออกมาส่วนหนึ่งก่อน เพราะราคาอาจไหลกลับลงไปได้เสมอ

ลองศึกษาทำความเข้าในแล้วนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ ^^

ปล.นี่เป็นเพียงการนำมาใช้งานแบบง่ายๆ นะครับ ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามอินเตอร์เน็ตเพื่อศึกษาการใช้ในเชิงลึกต่อไป

- Ampor Jai -

FB: หมายเลข13ตามหาหุ้น / 13getstock

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น